หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข่าวดี กระทรวงพาณิชย์เตรียมช่วยลดค่าครองชีพของแพง + เจาะค่าแรง300กุมเงินเฟ้อยังไง


เป็นที่รู้กันดีครับว่าช่วงนี้อาหารและวัถตุดิบประกอบอาหารปรุงสำเร็จเช่น ผักสด เนื้อหมู บางทีก็กระทบไปยังเครื่องแกงโดยที่เรายังไม่รู้สึกตัว มันเริ่มแพงขึ้น

และข่าวดีคือ กระทรวงพาณิชย์นำโดย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) ได้เตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนตาดำๆอย่างเรา โดยเตรียมการตั้งร้านขายอาหารปรุงสำเร็จที่ราคาไม่เกินเมนูละ 30 บาท ประมาณ 50 จุดขายภายในเดือนพฤษภาคมนี้

ราคาของที่แพงหูฉีดเราอาจไม่เข้าใจว่าทำไมถึงแพงหรือท่านที่หลายท่านเองก็อาจจะทราบมาบ้างแล้ว วันนี้ผมจะพาไปวิเคราะห์เจาะลึกพร้อมๆกันครับ

ทุกท่านยังจำได้ใช่ไหมครับเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล'ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ' ตรงนี้แหละครับที่ส่งผลให้ราคาของแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จริงๆแล้วสินค้านั้นปรับตัวขึ้นมาอยู่เรื่อยๆในทุกๆวันครับ และได้มาแพงจนรู้สึกถึง 'อุปสงค์เริ่มขัดแย้งกับอุปทาน' อย่างที่เราทราบกันดี

การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ส่งผลให้ต้นทุนของผักสดหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผักสดมาจนถึงมือผู้บริโภคทุกอย่าง มันเพิ่มเติมซึ่งกันและกันครับ จนทำให้ราคาเฟ้อขึ้นมาจนเห็นได้

ผมกำลังจะสื่อถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ามีที่มาจากที่ใด และนี่อาจเป็นแค่หนึ่งปัจจัยก็ แต่ในความคิดเห็นสวนตัวเรื่องของการที่ราคาสินค้าโหมกระหน่ำขึ้นก็เป็นเพราะสาเหตุนี้ด้วย และอาจจะเกี่ยวข้องกับ ฤดูกาลของไทยที่เป็นฤดูแล้งผลการเก็บเกี่ยวได้น้อย ก็เป็นไปได้หมดครับ

  • เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 
    • ดัชนีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 
      • เมื่อดัชนีผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 
        • เกิดภาวะเงินเฟ้อ และเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ 
          • ก็จะทำให้เงินมีค่าน้อยลง 
หากส่งผลในระยะยาวก็จะทำให้เรา 'ไม่ต้องทาสีบ้าน เอาเงินไปแปะแทนสีบ้านยังถูกกว่า' ก็เป็นไปได้ ลองศึกษาผลกระทบของ เงินเฟ้อในประเทศซิมบัฟเวย์ ดูสิครับถือว่าหนักที่สุดในโลก ประเทศไทยของเรายังไม่ขนาดนั้นครับ และไม่มีทางเป๋็นไปได้อย่างแน่นอน เพราะเศรษฐกิจเราแข็งแรงกว่านั้นเยอะครับ  



ผมขอนำเอาแบบจำลองซึ่งผมได้ลองทำมันขึ้นมาเองจากความปกติของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น 

การที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ย่อมก่อให้เกิดการเพิ่มราคาสินค้าไปยังตลาดมากขึ้น เพราะทางผู้ผลิตเองไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใดจากทางรัฐบาล หลังจากนั้นผู้บริโภคก็จะบริโภคน้อยลง หรือบางรายก็หันมาบริโภคสินค้าทดแทนกัน หรือสินค้าที่คล้ายคลึงกันในตลาด เพื่อลดผลกระทบจากราคาสินค้าที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น

จากนั้นสินค้าคงเหลือของผู้ผลิตจะมีมากขึ้น (ล้นตลาด) อาจจะก่อให้เกิดการเน่าเสียหรือไม่มาสามารถนำไปขายได้ บางรายจำใจขายในราคาทุนเพราะทนเห็นของเสียไม่ได้

หลังจากนั้นผู้ผลิตจะลดการผลิตลง เพื่อศึกษาให้จำนวนการผลิตเท่ากับความต้องการของผู้บริโภคที่ยังรับได้ แต่ผู้ผลิตเองก็ต้องลดต้นทุนการผลิตด้านอื่นออกหากจำเป็นที่จะต้องดำรงไว้ซึ้งกิจการ นั่นคือการลดการจ้างงานลง เพราะตนนั้นผลิตเพื่อป้อนสู้ตลาดน้อยลง

แต่อย่าลืมครับ ว่าระหว่างนี้สินค้าในท้องตลาดโดยทั่วๆไปก็ปรับตัวสูงขึ้นไปหมดทุกอย่าง 
แล้วเงิน 300 ที่เราได้มาจะมีประโยชน์อะไร ถ้าสินค้าแพงขึ้นขนาดนี้

ขอบคุณที่อ่านจบครับ
Steve.F 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น